ผ่าตัดเสริมหน้าอก

 

ประเภทของการเสริมหน้าอก

ปัจจุบันการศัลยกรรมเพิ่มขนาดของหน้าอกให้ใหญ่ขึ้น สามารถทำได้ด้วยกัน 3 วิธี คือ
 

1. การเสริมหน้าอกด้วยการฉีดสารเติมเต็ม หรือ Filler 

เป็นการเสริมหน้าอกด้วยการฉีดสารจำพวก Hyarulonic Acid โดยไม่ต้องผ่าตัด เหมาะสำหรับคนที่อยากเพิ่มขนาดหน้าอกแต่ไม่อยากผ่าตัด ซึ่งหน้าอกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยใช้เวลาไม่นานเพียง 30 นาที ซึ่งสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติโดยไม่ต้องพักฟื้น โดยหน้าอกจะคงสภาพความสวยงามนาน 1-2 ปี 
 

2. การเสริมหน้าอกด้วยไขมันของตัวเอง 

โดยเป็นการเสริมด้วยไขมันที่ดูดออกจากร่างกายของตัวเอง เช่น ดูดจากบริเวณหน้าท้อง ต้นขา เป็นต้น การฉีดไขมันเสริมหน้าอกจะต้องใช้ประมาณ 200-300 ซีซี (ถ้าต้องการเพิ่มให้ใหญ่กว่านี้ควรใส่ด้วยถุงซิลิโคนจะดีที่สุด) สามารถทำได้เฉพาะผู้ที่มีไขมันเพียงพอเท่านั้น ซึ่งข้อดีของการเสริมด้วยไขมันตัวเองนั้น เนื่องจากเป็นไขมันของตัวเราเอง ฉะนั้นร่างกายจะสามารถยอมรับได้ จึงทำให้ไม่มีผลกระทบหรือผลข้างเคียงใด ๆ และได้ประโยชน์จากส่วนที่ถูกดูดออกไปด้วย เช่น ไขมันส่วนเกินตามหน้าท้อง ต้นขา ก็จะลดลงไป และจะไม่มีแผลผ่าตัดใหญ่ จะมีเพียงแผลเจาะเล็ก ๆ เท่านั้น โดยคนไข้จะ ฟื้นตัวเร็ว ไม่ต้องนอนพักในโรงพยาบาล ไม่ต้องดมยาสลบ แต่มีข้อเสียก็คือ ไขมันของตัวเราที่ฉีดเข้าไป มีโอกาสที่ถูกดูดซึมโดยร่างกายกายได้ และอาจจะสลายบางส่วน ในระยะเวลาหนึ่งทำให้ขนาดของหน้าอกเปลี่ยนแปลง และอาจจะไม่พอดีตามที่เราต้องการ
 

3. การเสริมหน้าอกด้วยถุงซิลิโคน 

คือการผ่าตัดเพิ่มขนาดหน้าอกโดยการใส่ถุงเต้านมเทียม ปัจจุบันวิธีนี้เป็นที่ยอมรับกันและมีผลข้างเคียงน้อย ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าซิลิโคนเมื่อใส่ในร่างกายจะไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ถุงซิลิโคนสามารถอยู่ในคนเราได้ตลอดชีวิต ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ถุงซิลิโคนรั่วหรือเกิดพังผืดที่มีมากเกินไป  
 

สิ่งที่ควรรู้ก่อนผ่าตัด

1.การชาที่หัวนมหรือเต้านม อาจเกิดขึ้นได้หลังผ่าตัดแต่อาการมักดีขึ้นเอง
2.หลังจากการเสริมหน้าอกด้วยถุงเต้านมร่างกายจะมีการสร้างพังพืดรอบถุงเต้านม ถ้าพังพืดมีการแข็งตัวมากขึ้นก็จะรัดถุงเต้านม จนเต้านมมีรูปร่างผิดปกติ การผ่าตัดทำโดยแก้ไขพังพืดแล้วอาจต้องเปลี่ยนถุงเต้านมเป็นถุงใหม่
3.การเสริมหน้าอกทำให้การอ่านแมมโมแกรมยากขึ้น
4.การผ่าตัดใต้กล้ามเนื้อช่วยให้อ่านแมมโมแกรมได้ดีขึ้น
5.การตั้งครรภ์จะทำให้เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นโดยขึ้นอยู่กับแต่ละคนมีขนาด เท่าไร  ดังนั้นผลระยะยาวของขนาดและรูปร่างของเต้านมจะเปลี่ยนไป
6.การเสริมหน้าอกไม่ทำใoคนที่อายุน้อยกว่า 18 ปี
 

วางแผนสำหรับการผ่าตัด 

การผ่าตัดควรจะพบแพทย์ที่มีความชำนาญเพื่อให้แพทย์ที่มีความชำนาญเพื่อให้แพทย์ตรวจร่างกายของท่าน และสภาพเต้านมของท่าน ท่านสามารถจะคุยซักถาม และบอกความต้องการของท่านต่อแพทย์เพื่อแพทย์จะได้บอกรายละเอียดของการทำผ่าตัดของท่าน
 

ข้อมูลหลัก 4 ข้อ ที่ควรจะคำนึงถึงสำหรับการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคน คือ

1) แผลที่ทำการผ่าตัด (Incision line)

2) ตำแหน่งของชั้นเนื้อเยื่อที่วางเต้านมเทียม (Plaement Layer) 

3) ลักษณะของถุงเต้านมเทียม (Prosthetic Implant)  แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ

      3.1 แบ่งตามลักษณะของผิวถุงจะแบ่งเป็นแบบ ผิวเรียบ (Smooth) และ ผิวเนื้อทราย (Texture)

      3.2 สารที่บรรจุในถุง จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ

             3.2.1 แบบน้ำเกลือ 

             3.2.2 แบบ Medical Silicon Gel

      3.3 รูปทรงของถุงเต้านมจะแบ่งออกได้ 2 แบบ คือ และรูปทรงกลม (Round Breast implant) และทรง
 
หยดน้ำหรือทรงธรรมชาติ ( Anatomical, Contour) 
 
4) ขนาดของถุงเต้านมเทียม (Size)
 
ขนาดของเต้านมเทียม แม้ว่าจะขึ้นอยู่กับความต้องการของคนไข้ก็ตาม แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการเลือกขนาดที่เหมาะสมและได้รูป
 ค่าเปรียบเทียบช่วยให้สามารถเรียกขนาดของถุงโดยประมาณเป็นซีซีได้ประมาณคร่าวๆ
1 cup = 236 cc.
1/2cup =118 cc.
1/4 cup=59 cc.
1/3 cup=78 cc.
 

ขั้นตอนการผ่าตัดเสริมหน้าอก

การผ่าตัดเสริมหน้าอก ใช้ระยะเวลาผ่าตัดประมาณ 2-4 ชั่วโมง โดยให้คนไข้ดมยาสลบ เพื่อความสะดวกในการผ่าตัด หลังจากนั้นแพทย์จะ ผ่าตัดเปิดแผลที่รักแร้ ปานนม หรือใต้ราวนม แล้วแต่ว่าจะตกลงกับคนไข้ว่าอย่างไร โดยปัจจุบันนี้มักนิยมผ่าตัดเข้าทางรักแร้ มากที่สุด เนื่องจากสามารถหลีกเลี่ยงแผลบนเนินอกได้ดีกว่า
หลังจากนั้นแพทย์จะแหวกเนื้อเต้านมและกล้ามเนื้อแผงอกให้แยกออกจากกัน เป็นช่องกว้างขนาดพอเหมาะที่จะใส่ถุงซิลิโคน ที่เลือกเอาไว้ได้ เมื่อห้ามเลือดเรียบร้อยแล้ว แพทย์จึงจะค่อยๆใส่ ถุงนมเทียม เข้าไปทีละน้อยจนหมด เมื่อจัดรูปทรงเข้าที่แล้ว จึงเย็บแผลปิดด้วยไหมเล็กๆ จะเป็นไหมละลายหรือไม่ละลายก็ได้ 
 
 
 
 

การดูแลหลังผ่าตัด  

1. ภายหลังผ่าตัดเสริมหน้าอกคนไข้จะได้พักฟื้นที่โรงพยาบาล 1 คืน เพื่อจะดูอาการหลังทำ โดยคนไข้จะได้รับยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ยานอนหลับ หรือตามคำชี้แนะของแพทย์ เมื่ออาการคงที่แล้ว ก็สามารถกลับบ้านได้ และแพทย์จะ นัดมาตรวจหน้าอก ในอีกประมาณ 5 - 7 วันหลังจากทำ 
2. หลังจากผ่าตัด ส่วนมากคนไข้จะมีอาการปวดระบมบริเวณหน้าอก และบริเวณรักแร้ทั้ง 2 ข้าง ประมาณ 2-3 วันหลังผ่าตัดเสร็จสิ้น โดยเฉพาะเวลายกแขนหลัง 3 วันไปแล้ว อาการปวดก็จะเบาบาง 
3. เนื่องมาจากในขณะผ่าตัด คนไข้จะต้องดมยาสลบและต้องใส่ท่อเพื่อช่วยการหายใจ โดยเหตุนั้นหลังจากผ่าตัดเสร็จแล้ว คนไข้อาจจะมีอาการเจ็บคอบ้าง รวมไปถึงอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วอาการคลื่นไส้อาเจียน จะดีขึ้นเป็นปกติเมื่อได้รับยาระงับอาการอาเจียน ส่วนเรื่องอาการเจ็บคอ ก็จะหายไปเองภายใน 1-2 วัน 
4. ในวันแรกภายหลังผ่าตัด แพทย์จะเอาสายระบายน้ำเหลืองออก และแกะผ้าพันหน้าอกออกให้ และพันกลับไปใหม่ในลักษณะเหมือนเดิม บางท่านถ้าผ้ารัดหลุดหรือร่นลงมา แพทย์จะให้เปลี่ยน ใส่ชุดชั้นในที่เป็นแบบสปอร์ตบรา หรือชุดชั้นในแบบไม่มีโครง และที่สำคัญควรใส่ทั้งกลางวัน และกลางคืน ในช่วงสัปดาห์แรกหลังจากการผ่าตัดเสริมหน้าอก
5. จากนั้นแพทย์จะสอนเทคนิคการนวดหน้าอกให้คนไข้ทราบ เพื่อป้องกันการเกิดพังพืดหดรัดหลังการผ่าตัดโดยแนะนำให้คนไข้เริ่มนวดหน้าอก ในวันที่ 7 ภายหลังตัดไหม โดยวันละราวๆ 2 - 3 ครั้ง ระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ และหลังจากนั้นก็ให้นวดเพียงวันละ 1 - 2 ครั้งก็พอ และต้องทำอย่างติดต่อกัน อย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปี หรือตามคำแนะนำแพทย์ เพื่อที่จะให้หน้าอกนั้นดูสวยยิ่งขึ้น และสามารถใส่ชุดชั้นในได้ตามเป็นปกติ ถ้าการนวดหน้าอกทำได้ดีเป็นปกติ 
6. วิธีการนวด โดยการกดถุงลงล่างขึ้นบนเข้าด้านในและออกด้านนอกใน 4 ทิศทาง หลังจากนั้นใช้มือทั้ง 2 ข้างกดที่ถุง เต้านมให้มีการกลิ้งไปมาในมือ ใช้มือฝั่งตรงข้ามกันบีบเต้านมด้านล่างของเต้านมให้ถุงขยับขึ้นบนที่อยู่ให้สุด ในท่านั่งหรือยืน 
7. ส่วนหน้าอกที่เสริมไปแล้วนั้น จะยุบลงและมองดูสวยประมาณ 1 เดือนภายหลังทำ และจะเข้าที่ก็ประมาณ 3 - 6 เดือนหลังทำ แต่โดยเฉพาะใน 3 เดือนแรกอาจมีอาการปวดเล็กน้อย โดยเป็นเพียงบางตำแหน่ง หรืออาจมีเสียงเหมือนคล้ายลมหรือน้ำ เวลาที่กำลังนวดหน้าอก หรืออาจจะรู้สึกชาได้บ้าง บริเวณหน้าอกหรือที่หัวนม โดยอาการเหล่านี้จะเป็นเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น และจะหายไปเองเป็นปกติธรรมดา 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากผ่าตัดเสริมหน้าอก

1.การตึงแข็งและพังผืดล้อมถุงนมเทียม เป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก ทั้งนี้ปัจจัยหลายอย่างที่ช่วยสนับสนุน การเกิดของพังผืดนี้ ได้แก่ เทคนิคการผ่าตัดของแพทย์ อาจจะเกิดเลือดออกหรือเลือดคั่งที่โพรงเต้านมเทียม การเกิดการอักเสบรอบถุงนม การเลือกขนาดของถุงนมที่ไม่เหมาะสม ทำให้คลำเจอขอบของซิลิโคน (โดยมากมักจะพบในพวกที่ชอบเสริมหน้าอก ให้มีขนาดใหญ่ ๆมากกว่า) และ การดูแลตัวเองของคนไข้ที่ไม่ดีพอ โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ของการผ่าตัด จะต้อง นวดหน้าอก อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันผลข้างเคียงต่างๆเหล่านี้ได้
2.ระดับของเต้านมที่ไม่เท่ากัน โดยมากมักเกิดจากการวางถุงนมที่ไม่ดีพอ หรือการที่ถุงนมเคลื่อนตัวไปอยู่ในระดับที่สูง หรือต่ำกว่าปกติ ซึ่งหากแตกต่างกันมาก ก็มีความจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดใหม่ เพื่อเข้าไปจัดตำแหน่งของถุงนมใหม่
3.อาการชาที่ปานนม หัวนม โดยมากมักเกิดขึ้นในช่วงระยะแรก ๆ เนื่องจากการเลาะแหวกช่องสำหรับวางถุงนมนั้น อาจจะมีการดึงรั้งเส้นประสาทที่เลี้ยงหัวนมและปานนมได้ แต่มักจะไม่เกิดขึ้นถาวร และจะหายชาได้เมื่อเวลาผ่านไปประมาณไม่เกิน 5 - 6 เดือน
4.แผลเป็นที่ผ่าตัดมีการปูดนูน แผลที่รักแร้ ปานนม หรือใต้ราวนมนั้น อาจจะมีลักษณะของแผลเป็นที่ไม่สวยงามได้ ทั้งนี้อาจเกิดจากการอักเสบของแผล ความตึงของผิวหนัง รวมทั้งสภาพผิวหนังของคนไข้เอง
 
  
 
    • หน้าอกคล้อย เป็นภาวะที่เป็นธรรมชาติเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยมีเหตุส่งเสริมที่ทำให้เต้านมหย่อนคล้อ...
    • ปานนม คือส่วนผิวหนังสีเข้มที่อยู่รอบหัวนมเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เต้านมมีความสวยงาม ในผู้หญิงบางคนมีป...
    • การผ่าตัดลดขนาดเต้านมเป็นการผ่าตัดที่พบได้ในคนที่มีขนาด เต้านมที่ใหญ่ผิดปกติอาจพบได้ทั้งในผู้หญิงและ...
    • กรณีหัวนมบอด การแก้ไข แพทย์จะทำการผ่าตัดลงไปบริเวณฐานของหัวนมแล้วเลาะยืดพังผืดและท่อน้ำนมขึ้น หรือ ผ...
Visitors: 561,265