แก้ไขแผลเป็น

แผลเป็น เกิดจากกระบวนการรักษาแผลที่เกิดการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ มีการสร้างเนื้อเยื่อซึ่งเป็นคอลลาเจน (collagen) มาทดแทนเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายไป เป็นกระบวนการสมานรักษาแผลตามธรรมชาติ และเมื่อแผลหายดีแล้ว มักทิ้งรอยแผลเป็นไว้เป็นหลักฐาน ณ บริเวณที่เกิดแผล แผลที่มักทำให้เกิดรอยแผลเป็น ได้แก่ แผลผ่าตัด แผลจากอุบัติเหตุ แผลไฟไหม้ แผลสิว แผลจากโรคสุกใส เป็นต้น 

การแก้ไขแผลเป็นนูนคีลอยด์ (Keloid)  
ชนิดของแผลเป็น มีมากมายหลายชนิด แต่ที่เป็นปัญหาหลักๆ ที่ทุกคนกลัวกันก็คือ กลุ่มแผลเป?นที่โตนูน มี 2 แบบ คือ
 
1. รอยแผลเป็นนูนหนา (Hypertrophic scar) คือ แผลเป?นที่โตนูนไม่เกิน ขอบเขตของแผลเดิม ในระยะแรกจะมีลักษณะนูน แดง คัน สาเหตุอาจจะพบได?จากการที่แผลเกิดในตําแหน?งที่ความตึงมาก  เช?น บริเวณข?อต?อหรือกลางหน?าอก เป?นต?น มักจะพบได้มากในช?วงระยะ 6 เดือนแรกหลัง จากนั้นก็จะค?อยๆยุบลงและจะกลับเข?าสู?แผลเป็นคงที่ (stable scar) มีลักษณะใกล?เคียงแผลเป?นปกติในช่วงประมาณ 1 ปีภายหลังเกิดแผล
 
2. คีลอยด์ (Keloid) คือ แผลเป?นที่โตนูนและขยายใหญ?เกินขอบเขตของแผล เดิมไปมาก ลักษณะนูน แข็ง หรือหยุ่นคล้ายยาง ผิวมัน มองเห็นชัดเจนจากผิวหนังปกติ มีสีแดงเนื่องจากมีเส้นเลือดมาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก แผลเป็นนูนชนิดคีลอยด์อาจจะมีอาการเจ็บ คัน ร่วมด้วย อาจจะกดแล้วเจ็บ ก้อนเนื้ออาจจะค่อยๆ โตขึ้นหรือคงที่แต่จะใหญ่กว่าแผลเดิม การเกิดคีลอยด์ มักขึ้นอยู่กับผิวของแต่ละคนและกรรมพันธุ์ โดยเฉพาะแผลที่มีการอักเสบมากจะมีโอกาสเกิดแผลเป็นมากขึ้น หรือการแคะแกะเการุนแรงก็ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนซึ่งจะทำให้เกิดแผลชนิดนี้ได้เช่นกันได้เช่นกัน
 
ปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดแผลเป็นโตนูน: ที่พบบ่อยๆ ได้แก่ แผลจากการเป็นสิว แผลจากการเจาะหู แผลปลูกฝี ฉีดวัคซีน แผลผ่าตัดต่างๆ แผลผ่าคลอดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลถูกของมีคมบาด แผลจากอุบัติเหตุ แผลจากรอยสัก
 
การรักษาแผลเป็น เกิดขึ้นแล้วเริ่มจาก
 
วิธีที่ 1 การปล่อยให้แผลเป็นจางลงเองตามธรรมชาติ แผลเป็นอาจหดและจางลงได้เองในระดับหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น ศัลยแพทย์ตกแต่งจำนวนมากจะแนะนำให้ทิ้งไว้เฉยๆ สัก 1 ปี จนแผลจางลงเต็มที่ก่อนให้การรักษา
 
วิธีที่ 2 การใช้แผ่นเทปเหนียว หรือว่า microporous tape ก็จะสามารถทดแทนได้เช่นเดียวกัน แผ่นเทปเหนียวนี้สามารถใช้ปิดลงบนบาดแผลได้โดยตรง และจะทำให้ผิวหนังบริเวณใต้ต่อเทปนี้มีความชุ่มชื้นมากขึ้น ทำให้มีการอักเสบลดน้อยลง
 
วิธีที่ 3 การใช้ยาทาแก้แผลเป็น เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาที่มีวิตามิน E หรือ A เป็นส่วนประกอบ กรณีที่แผลเป็นนูนเป็นเพียงเล็กน้อยและไม่นานนัก จะช่วยบรรเทาอาการคัน ตึง ปวด เพื่อไม่ให้ลุกลามขึ้น แต่ไม่ช่วยให้แผลเป็นหรือคีลอยด์ยุบลงได้
 
วิธีที่ 4 แผ่นเจลซิลิโคน (silicone gel sheet) โดยส่วนใหญ่แล้วพบว่าเกิน 95 % รักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด วิธีที่แนะนำให้ใช้วิธีแรกคือ การใช้แผ่นซิลิโคนปิด แผ่นซิลิโคนนี้จะเป็นแผ่นเจลใส ๆ ที่ทำมาจากซิลิโคน สามารถปิดไว้บนบาดแผล หลังจากบาดแผลหายดีแล้วประมาณ 7 วัน การปิดแผลนี้แนะนำให้ปิดตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเวลาประมาณ 3 เดือน ซึ่งข้อดีจะทำให้บริเวณผิวหนังที่อยู่ใต้แผ่นซิลิโคนนี้ มีความชุ่มชื้นมากขึ้น ทำให้ลดการอักเสบได้ แผ่นซิลิโคนใสนี้ สามารถนำมาล้างทำความสะอาด ใช้สบู่ฟอก ใช้น้ำสะอาดล้าง แล้วผึ่งให้แห้ง นำมาใช้ปิดแผลเป็นได้จนกว่าจะปิดไม่อยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถใช้ได้นาน 14-28 วัน
 
วิธีที่ 5 การฉีดยาด้วยยาสเตียรอยด์ จะลดการอักเสบของการเกิดเป็นแผลเป็นนูนเกินหรือคีลอยด์ได้ ยาที่แนะนำคือ Triamcinolone acetonide ซึ่งเป็นยาฉีดเฉพาะที่ สามารถลดการอักเสบ วิธีการรักษาคือฉีดยาเข้าไปในแผลเป็นโดยตรง แต่ก็อาจทำให้มีอาการเจ็บได้พอสมควรในระหว่างการฉีดยา จะแนะนำให้ฉีดแผลเป็นนี้ในช่วงระยะประมาณไม่เกิน 1 ปีแรกหลังจากที่ได้รับบาดเจ็บ ส่วนใหญ่แล้วจะนัดมาฉีดประมาณเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งความถี่ในการฉีดขึ้นอยู่กับการตอบสนองของยาว่าเป็นอย่างไร
 
วิธืที่ 6 การใช้แสงเลเซอร์ ที่มีความยาวคลื่น 595 นาโนเมตร เป็นเลเซอร์ที่จะไปหดเส้นเลือดแดง ลดความแดงของคีลอยด์ ทำให้สีกลมกลืนกับผิว ข้อดีคือ ไม่มีบาดแผล สามารถอาบน้ำและดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ข้อจำกัดคือ เลเซอร์ไม่ช่วยให้หายคัน การยุบแบนราบของคีลอยด์จะค่อยเป็นค่อยไปและต้องทำหลายครั้ง ส่วนใหญ่จะรักษาควบคู่กับการฉีดยา 
 
วิธีที่ 7 การผ่าตัด เป็นการลดขนาดของแผลเป็น แพทย์อาจใช้วิธีตัดออก หรือว่าลดขนาดลงบางส่วน วิธีนี้อาจจะใช้ร่วมกับการรักษาโดยวิธีอื่น เช่น การฉีดยา หรือการปิดด้วยแผ่นซิลิโคน การผ่าตัดมีอยู่หลายวิธี อาจจะใช้วิธีตัดออกโดยตรงแล้วเย็บปิดเป็นเส้นตรง หรืออาจจะตัดออกเป็นรูปซิกแซกเพื่อที่จะให้แผลเป็นที่เกิดขึ้นใหม่มีลักษณะใกล้เคียงกับรอยย่นตามผิวหนัง
 
หมายเหตุ: การรักษาแผลเป็นนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาดูว่าแผลเป็นนั้นเป็นแผลเป็นนูนชนิดใด หากเป็นแผลเป็นนูนเกินหรือคีลอยด์ จะต้องพิจารณาการรักษาอย่างเหมาะสม มิฉะนั้นอาจจะมีแผลเป็นใหญ่โตเกินกว่าขนาดเดิมได้ โดยทั่วไปแล้วแผลเป็นมักจะสามารถป้องกันได้ เพราะฉะนั้นหากเรารู้จักวิธีการดูแลรักษา
 
การป้องกันแผลเป็น
ในกรณีที่เกิดแผลขึ้นแล้ว สิ่งสำคัญอย่างแรกในการลดแผลเป็นคือ ควรลดสาเหตุและระดับความรุนแรง ควรดูแลรักษาทำความสะอาดแผลอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้แผลหายเร็วที่สุด ยิ่งแผลหายเร็วเท่าใดโอกาสการเกิดแผลเป็นก็จะน้อยหรือเบาบางลงเท่านั้น
 
ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการหายของแผล ได้แก่ อายุ ยาคอร์ติโคสตีรอยด์ การขาดอาหาร การสูบบุหรี่ อุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรดด่าง และออกซิเจน โดยพบว่าแผลจะหายได้ดีขึ้นในสภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิที่อบอุ่นได้ดีกว่าอากาศเย็น ความชื้น ความเป็นกรดด่าง ๗.๔ และออกซิเจนจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นเช่นกัน   
 
ดังนั้น การรักษาแผลจึงควรรักษาสภาวะแวดล้อมและความสะอาดของแผลให้เหมาะสม มีอุณหภูมิที่อบอุ่น มีความชื้นเพียงพอ ความเป็นกรดด่าง และออกซิเจน เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อช่วยให้แผลหายได้เร็วขึ้น สำหรับการดูแลแผลเล็กๆ น้อยๆ เบื้องต้น เริ่มต้นการล้างหรือเช็ดทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด ตามด้วยการปิดทำแผลโดยปราศจากเชื้อ ไม่แนะนำให้ใช้แอลกอฮอล์หรือยาฆ่าเชื้อ เช่น โพรวิโดนไอโอดีน เพราะส่งผลเสียต่อการสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายช้า
ส่วนชนิดของแผลที่ควรแนะนำไปพบแพทย์ ได้แก่ แผลที่เลือดไหลไม่หยุด แผลขนาดใหญ่หรือแผลลึกมาก แผลที่เกิดจากแมลงพิษกัด แผลบริเวณข้อต่อหรือข้อพับ และแผลที่แดง อักเสบ และปวดรุนแรงหรือเป็นหนอง เป็นต้น ซึ่งมีโอกาสเกิดแผลเป็นได้ 
 

การแก้ไข ไฝ ขี้แมลงวัน หูด กระเนื้อ และติ่งเนื้อ 

ไฝ หรือ ขี้แมลงวัน เป็นเนื้องอกที่พบบ่อยที่สุดของมนุษย์ มีหลายชนิดในที่นี้จะพูดถึงชนิดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ Nevocellular nevus หรือที่เรียกว่า Pigmented Nevus ซึ่งมีหลายลักษณะด้วยกัน คือ อาจจะเป็นจุดเรียบ ๆ สีน้ำตาล หรือ เกือบดำโดยมากมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร ถึง 1 เซนติเมตร รูปร่างกลมหรือรี หรือเป็นตุ่มนูนสีน้ำตาลหรือดำ ผิวเรียบหรือขรุขระ หรืออาจจะเป็นชนิดไม่มีสีเลยก็ได้ 

หูด เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการสัมผัสโดยตรง มีลักษณะเป็นต่อมนูนหรือตุ่มแบน (หูดราบ) ก็ได้ โตช้า ๆ และอยู่นานโดยไม่มีอาการใด ๆ ส่วนใหญ่แล้ว หูด มักจะหายไปเองโดยไม่ต้องทำการรักษา แต่ถ้า หูด นั้นสร้างความรำคาญหรือเจ็บปวด ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อนำ หูด นั้นออก 
 
กระเนื้อ มีลักษณะเป็นตุ่มแบน ๆ ดูคล้ายตุ่มนั้นแปะอยู่บนผิวหนัง สีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มีตั้งแต่เป็นจุดเล็ก ๆ จนกระทั่งใหญ่ ๆ ผิวอาจจะขรุขระเล็กน้อย พบบ่อยที่หน้า คอ หน้าอกและหลัง เชื่อว่าเป็นจากการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังตามอายุ มักพบในผู้ที่อายุ 30 ปี ขึ้นไป ที่มักจะเรียกกันว่า วัยตกกระ จะมีขนาดใหญ่และจำนวนมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น มักมีประวัติเป็นในครอบครัวเดียวกัน และพบมากขึ้นในขณะตั้งครรภ์ ถ้าจำนวนมากอาจทำให้ดูไม่สวยงามเท่านั้น 
 
ติ่งเนื้อ เป็นตุ่มที่มีก้านเล็ก ๆ ยื่นออกมาจากผิวหนัง มีได้ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มักพบที่เปลือกตา คอ ซอกรักแร้ ขาหนีบ 
 
วิธีการรักษา ไฝ ขี้แมลงวัน หูด กระเนื้อ และติ่งเนื้อ จะมีวิธีการเดียวกันดังนี้ 
 
1.การจี้ด้วยเครื่องจี้ไฟฟ้า หรือ เลเซอร์ ต้องทายาชาไว้ประมาณ 45 นาที แล้วจึงใช้ความร้อนหรือใช้แสง เลเซอร์ ในการรักษา โดยใช้เวลาประมาณ 10 นาที หลังจากรักษาแล้ว แผลไม่ควรให้ถูกน้ำประมาณ 1 วัน และคุณสามารถไปทำงานได้ตามปกติ ใช้ยาทาแผล เช้า - เย็น ประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อแผลหายควรหลีกเลี่ยงแสงแดด เพราะแสงแดดอาจทำให้เกิด รอยดำ ตามมา 
 
2.การผ่าตัด แพทย์ทำการฉีดยาชาก่อนการผ่าตัดออกไปจากนั้นจึงเย็บขอบเนื้อข้างเข้าหากันใช้เวลาประมาณ 30 นาที หลังจากรักษา แผลไม่ควรให้ถูกนำ และ หลังการผ่าตัด 7 วัน ให้มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อตัดไหม
 

 

    • chanisa3-15.png
      กายวิภาคของใบหน้าโดยทั่วไปถ้าจะแบ่งอย่างคร่าวๆก็จะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือส่วนบน ตั้งแต่ส่วนหน้าผากจนถึงค...
    • ริมฝีปากเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างบุคลิกได้ไม่แพ้องค์ประกอบอื่นบนใบหน้า สำคัญที่สุดของการศ...
    • 19.jpg
      ลักษณะทั่วไปของลักยิ้มจะมีอยู่ 2 แบบ คือ 1) แบบจุด จะเป็นเพียงรอยบุ๋มลงไปเล็กๆ เท่านั้น 2) แบบขีด มั...
    • ตกแต่งแคมเล็ก (LABIA) แคมเล็กเป็นเนื้อเยื่อบริเวณปากช่องคลอด ซึ่งแต่ละคนมีขนาดแตกต่างกันไปในแต่ละคน ...
Visitors: 561,301