แก้ไขซิลิโคนเหลวบริเวณหน้าผาก ขมับ

ภาวะแทรกซ้อนการซิลิโคนเหลว

  • ปวดบวมแดงอักเสบ
  • ผิวหนังผิดรูปหย่อนคล้อยไม่เรียบดูเป็นริ้ว
  • การเกิดก้อนคล้ายเนื้องอกแข็งๆโป่งนูน
  • ผิวหนังอักเสบเปลี่ยนสีเช่นสีเหลืองสีแดงหรือถ้าเป็นมากผิวหนังจะออกสีม่วง 
  • การเคลื่อนไหลตัวของสารซิลิโคนเหลวไปสู่เนื้อเยื่อข้างเคียงได้ทำให้เนื้อเยื่อข้างเคียงมีความผิดปกติผิดรูปเสมือนได้ไปฉีดสารซิลิโคนเหลวบริเวณนั้นมาด้วย
  • ในบางรายอาจมีอาการปวดข้อปวดกล้ามเนื้อเนื่องจากเป็นปฏิกิริยาต่อต้านของร่างกายกับสิ่งแปลกปลอม

แก้ไขซิลิโคนเหลวบริเวณ "หน้าผาก ขมับ"

การแก้ไขซิลิโคนเหลวบริเวณหน้าผาก ขมับมี 3 วิธี

1. การดูดสารซิลิโคนเหลวออก

ทำในรายที่ก้อนสารแปลกปลอมยังไม่จับตัวแข็งมาก 

2. การผ่าตัดเลาะสารซิลิโคนเหลวออก

     2.1 ทำการเลาะสารซิลิโคนเหลวออก

     2.2 และพักสภาพเนื้อเยื่อทิ้งไว้ อย่างน้อย 2-3 เดือน ขึ้นไป แล้วค่อยพิจารณาการแก้ไขเพิ่มเติม เช่น การฉีดไขมันเติมเต็ม เสริมซิลิโคนหน้าผาก               เพื่อเติมเต็มรูปทรงหน้าผากให้สวยงาม

3. การผ่าตัดเลาะเอาสารซิลิโคนเหลวออกพร้อมเสริมแผ่นซิลิโคนทันทีในคราวเดียวกัน

ตัวอย่างการแก้ไขซิลิโคนเหลวบริเวณหน้าผาก

คลิก!  ชมคลิปผ่าตัดการแก้ไขซิลิโคนเหลวบริเวณหน้าผาก ขมับ

คลิก!ชมอัลบั้มรีวิวผลงานแก้ไขซิลิโคนเหลวบริเวณหน้าผาก ขมับ

 

Visitors: 570,657